สรุปการทำแมทด้วงใน BeetleHub (Discord) [ภาษาไทย]

สวัสดี ผู้อ่านทุกคน

วันนี้ผมจะมาสรุปเรื่อง “การทำแมทด้วง...” จาก Discord Dicussion ของ BeetleHub ประจำวันที่ 25/03/2021 ซึ่งบรรยากาศในการสนทนาจะเป็นลักษณะเป็นกันเอง แม้จะไม่รู้จัก จากคุยเรื่องการทำแมท สู่การคุยเรื่องตั๊กแตนตำข้าว และแมงป่อง ฮ่า ๆ โดยผู้บรรยาย และแชร์ประสบการณ์ในการทำแมทจะเป็นใครไม่ได้นอกจาก เปม BeetleHub ซึ่งผมจะสรุปเป็น session ให้ผู้อ่านได้เข้าใจเนื้อหาของบทสนทนาที่สำคัญ ๆ เนื้อ ๆ ของการทำแมท และข้อสงสัยของผม และตัวผู้บรรยายและตั้งคำถามเอาไว้

นิยามของแมท (Mat)

แมท (Mat) ที่เราเรียกกันนั้น เราต้องเข้าใจก่อนว่ามันมาจากคำว่า “Material” หมายถึง วัสดุ แต่อาหารของตัวอ่อนจริง ๆ เราเรียกว่า Flake Soil เหตุผลที่เราทำแมทขึ้นมาเพื่อเลียนแบบอาหารในธรรมชาติของเขา แต่ทั้งนี้ในด้วงแต่ละวงศ์ หรือแต่ละชนิดก็มีความจำเพาะของอาหารที่พวกมันกินอยู่ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นด้วงจากวงศ์เดียวกัน ประเภทของแมทเองก็มีความหลากหลาย ที่นี่เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า ทำไม แมท จึงมีหลายประเภทเพราะอะไร

ความผุของไม้

ความผุของไม้ (Decayed wood) นั่นเป็นตัวแบ่งประเภทของแมท หากเราสมมติเกณฑ์เล่น ๆ ให้ความผุของเนื้อไม้แบ่งระดับความผุ เป็น 1 – 10

  • ด้วงกว่าง (วงศ์ Scarabaeidae) ระดับความผุ 6 – 8 (ผุปานกลาง จนถึงค่อนข้างผุมาก)
  • ด้วงคีม (วงศ์ Lucanidae) ระดับความผุ 3 – 6 (ผุอ่อน ๆ จนถึงผุปานกลาง )

ดังนั้น ความผุของเนื้อไม้จึงเป็นเหตุผลระดับหนึ่งได้ที่เราใช้เป็นเกณฑ์ในการแยกประเภทของมันตามความเหมาะสมแมทของด้วง ซึ่งความผุของไม้นั่นมาจากการเกิดขึ้นของการเจริญของจุลินทรีย์ (Microorganism) ไม่ว่าจะเป็น เชื้อรา และแบคทีเรีย

เชื้อเห็ดรา (Fungi)

เชื้อรามักจะเติบโตใรที่แห้ง ซึ่งผลที่ของการที่หมักด้วยเชื้อรา คือ เนื้อไม้จะมีความนุ่มมาก และมีสีอ่อน

แบคทีเรีย (Bacteria)

แบคทีเรียนั่นมีการขยายพันธุ์เร็ว เนื้อวัสดุที่ได้จากการหมักค่อนข้างหยาบ และแข็ง สีของเนื้อไม้ค่อนข้างที่จะเข้มกว่าสีของเชื้อราเห็ด

การหมักของแมท

วิธีการหมักแมทนั่นจริง ๆ แล้วคือทำให้จุลินทรีย์ย่อยให้ไม้ผุ ซึ่งจุลินทรีย์พวกนี้มีอยู่ทุกที่ในไม้อยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ในธรรมชาติของตัวอ่อนด้วง (Larvae) กินเนื้อไม้ผุที่แตกต่างกัน

  • ด้วงกว่าง (วงศ์ Scarabaeidae) กินเนื้อไม้ผุที่มีความผุระดับปานกลาง จนถึงค่อนข้างมาก ที่มีการหมักของอินทรียสารส่วนใหญ่เชื้อเห็ดจะหยุดการเจริญเติบโต
  • ด้วงคีม (วงศ์ Lucanidae) ส่วนใหญ่อาหารของพวกมันกินไม้ผุอ่อน ๆ จนถึงผุปานกลาง มีเชื้อเห็ดวิ่งเป็นราสีขาว

หมายเหตุ: ย้ำว่าข้อมูลส่วนนี้ด้วงในวงศ์เดียวกันอาจไม่ได้กินเนื้อไม้ผุเหมือนกัน ทั้งนี้ผู้เพาะต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของสายพันธุ์นั่นด้วงในธรรมชาติกินเนื้อไม้ลักษณะแบบไหน

ในการหมักแมท เราจำเป็นต้องให้อาหารกับจุลินทรีย์ครบถ้วน แต่ไม่ขาดแคลนบางอย่างทำให้ผุยาก ยกตัวอย่าง ไนโตรเจน ที่น้อย (ไม่เกินร้อยละ 1) ทำให้การย่อยสลายเกิดขึ้นช้ามาก ๆ หากต้องการเร่ง สามารถทดแทนได้ด้วยการเสริม ไนโตรเจน สารที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ มาจากไหนได้บ้าง? อันที่จริงเราสามารถหาวัตถุดิบรอบตัวอย่าง มูลวัว และแป้ง ที่โดยทั่วไปจะนำมาใช้หมัก (มักเป็นวัตถุดิบที่ถูกนำม่ใช้โดยไม่รู้ตัว)

Q&A ระหว่างคนถามกับคนตอบ เรื่องการทำแมท

Q: เนื้อไม้อ่อน หรือ เนื้อไม้แข็งแบบไหนทำแมทดีกว่ากัน

A: เนื้อไม้อ่อน และเนื้อไม้แข็ง มีข้อดีและข้อเสีย แตกต่างกัน การหมักเนื้อไม้อ่อนให้ผุนั่น ข้อดี คือ ผุเร็วทันใจ พร้อมใช้งานเร็ว ข้อเสีย คือ ด้วยความที่เป็นไม้เนื้ออ่อนเมื่อเวลาผ่านไปก็อาจผุมากจนไม่สามารถใช้งานได้กับตัวอ่อนด้วงที่เลี้ยงได้ การหมักเนื้อไม้แข็งให้ผุนั่น ข้อดี คือ ระยะการเก็บใช้งานค่อนข้างนาน ข้อเสีย คือ ใช้เวลาหมักค่อนข้างนานจนกว่าพร้อมใช้

Q: แมทพร้อมใช้ กับ แมทแห้ง อันไหนดีกว่ากัน

A: แมทพร้อมใช้ ข้อดี คือ สามารถใช้งานได้เลย ข้อเสีย คือ ไม่เหมาะกับการเก็บ มีน้ำหนักมากกว่าแมทแห้งในการขนส่งอาจเสียค่าขนส่งเพิ่ม เนื่องจากน้ำหนัก แมทแห้ง ข้อดี คือ มีน้ำหนักเบา เก็บได้นาน ข้อเสีย คือ หากต้องการใช้งานต้องผสมน้ำ และรอให้จุลินทรีย์กลับมาเติบโตไม่งั้นมันอาจสร้างปัญหา

Q: แมทนี่เราจำเป็นต้องฆ่าเชื้อไหม

A: ในกรณีควบคุมปัจจัยไม่ได้ เช่น ทำการหมักแบบระบบเปิด ควรจะฆ่าเชื้อ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน จาก แมลงหวี่ เชื้อราบางชนิดที่ทำอันตรายตัวอ่อนด้วงของเรา หรือปรสิต การฆ่าเชื้อนั่นก็ถือว่ามีความสำคัญ แต่หากมันสะอาดไร้ซึ่งสิ่งปนเปื้อน ตัวอ่อนด้วงก็อาจไม่กินเลย ซึ่งยังมีจุลินทรีย์ชนิดดีสำหรับด้วงอยู่การฆ่าเชื้อให้ Clear 100% จุลินทรีย์ที่จำเป็นต่อด้วงก็คงจะตายจากไป

Q: แมทใช้ซ้ำได้ไหมครับ

A: ใช้ซ้ำได้ แต่เราก็ควรเอาไปแช่ ตู้เย็นช่อง Freeze เพื่อเป็นการกำจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ที่อาจมีปัจจัยส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนด้วง เช่น แมลงหวี่ ไร เป็นต้น การตากแดดไม่แนะนำ เพราะหากแดดไม่แรงมากพอ ประสิทธิภาพในการกำจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ก็อาจไม่ดีหนัก หากเราใช้แมทซ้ำบ่อย ๆ ก็ไม่ดีหนัก เพราะว่าแมทนั่นมีอายุการใช้งาน หากเราใช้ซ้ำตัวอ่อนด้วงอาจไม่ชอบ เพราะความผุของเนื้อไม้อาจผุมากเกินไปจนพวกมันไม่อยากกิน

Q: เชื้อราเขียวอันตรายต่อตัวอ่อนด้วงไหม

A: ราเขียวนั่นในธรรมชาติอยู่มากมายหลายชนิด แต่ที่เราจะสามารถพบในการเพาะได้บ่อย ๆ มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ Trichoderma spp. และ Metarhizium spp. ราเขียวชนิด Trichoderma spp. กินราด้วยกัน ส่วน Metarhizium spp. กินตัวอ่อนด้วง ส่วนใหญ่ที่เป็นที่มีปัญหา คือ Meterhizium spp. รากินตัวอ่อนด้วง

ข้อมูลเพิ่มเติม

ส่วนตัวผู้บรรยาย เปม BeetleHub ก็บอกก่อนบรรยายว่าได้ทำรูปภาพ Infographic การทำแมท 2 ภาษาไว้ สามารถติดตามอ่านในอัลบั้มรูปภาพของ BeetleHub

ขอบคุณทุกท่านที่อ่านบทความกันนะครับ และขอขอบคุณ เปม BeetleHub สำหรับความรู้และการตรวจทานความถูกต้องของเนื้อหาที่สรุป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *